คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
วารสารราชานุกูลจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว บทความที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น บทความทุกประเภทที่ส่งมาให้พิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการตรวจทานต้นฉบับจากคณะบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วเป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันราชานุกูลและผู้นิพนธ์
ประเภทของบทความ
- บทบรรณาธิการ (Editorial)
เป็นบทความซึ่งวิเคราะห์ผลงานทางสุขภาพจิตและครอบครัว หรืออาจเป็นข้อคิดเห็นเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ มีองค์ประกอบ ดังนี้ บทนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Text) สรุป (Summary) และเอกสารอ้างอิง (References)
- นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)
เป็นบทความรายงานการวิจัย มีองค์ประกอบ ดังนี้ ชื่อเรื่อง (Title) บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและอังกฤษ ไม่ควรเกิน 300 คำ ตามด้วย คำสำคัญ (Key words) จำนวน 2 – 5 คำ บทนำ (Introduction) วัสดุและวิธีการ (Materials and methods) ผล (Results) วิจารณ์ (Discussion) สรุป (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) และเอกสารอ้างอิง (References)
การเตรียม ตาราง และรูปภาพ ตาราง ประกอบด้วยชื่อตาราง สดมภ์ มีหน่วยนับ มีเส้นตารางเฉพาะแนวนอน จำนวน 3 – 5 ตาราง สำหรับรูปภาพดิจิทอลให้ใช้รูปแบบ JPEC
- บทความฟื้นฟูวิชาการ (Review article)
เป็นการรวบรวมวิเคราะห์สังเคราะห์ผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเรื่องนั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน มีองค์ประกอบ ดังนี้ บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Key words) บทนำ (Introduction) สรุป (Conclusion) เอกสารอ้างอิง (References)
- รายงานเบื้องต้น (Preliminary report)
เป็นการนำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัยที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ต้องศึกษาต่อเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติม มีส่วนประกอบที่สำคัญเช่นเดียวกับนิพนธ์ต้นฉบับ
- รายงานผู้ป่วย (Case report)
เป็นรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยที่น่าสนใจ มีองค์ประกอบ ดังนี้ บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Key words) บทนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Text) สรุป (Conclusion) เอกสารอ้างอิง (References)
- ปกิณกะ (Miscellany)
เป็นบทความทั่วไปที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว
การเตรียมต้นฉบับ
-
ให้พิมพ์ใบนำส่งแยกออกจากเนื้อหา ให้ระบุชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ ตัวย่อวุฒิการศึกษาสูงสุด หน่วยงาน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ พร้อมที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ เรียงลำดับผู้นิพนธ์ และหน่วยงานด้วยหมายเลข (เริ่มใช้วารสารปีที่ 29 ฉบับที่ 1) ในส่วนของเนื้อหาให้พิมพ์บทคัดย่อ แยกตารางออกจากเนื้อหา ไม่ต้องระบุชื่อผู้นิพนธ์ และหน่วยงาน เพื่อให้กองบรรณาธิการ ทบทวนบทความโดยไม่ทราบผู้เขียน (blindly review) ส่วนชื่อเรื่องพิมพ์ไว้กึ่งกลางของเนื้อหาหน้าแรก
-
ต้นฉบับ ให้ใช้กระดาษสีขาวขนาด 8 ½ นิ้ว x 11 นิ้ว หรือ ISO A4 พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์โปรแกรม Word Processor for Window ตัวอักษร Angsana UPC ขนาด 16 และให้พิมพ์ข้อความ 1 สดมภ์ (1 Column) ต่อ 1 หน้ากระดาษ A4 ให้พิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้านไม่น้อยกว่า 2.5 ซม. (1 นิ้ว) และต้นฉบับแต่ละเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้า กระดาษ A4 (ไม่นับใบนำส่ง)
-
ภาษา ให้ใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และ/หรือภาษาอังกฤษ ถ้าต้นฉบับเป็นภาษาไทยควรใช้ศัพท์ภาษาไทยให้มากที่สุด โดยใช้พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถานเป็นบรรทัดฐาน สำหรับคำศัพท์แพทย์ภาษาอังกฤษที่ไม่มีคำแปลในพจนานุกรมฯ อนุโลมให้ใช้ภาษาอังกฤษได้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ปนในเรื่องภาษาไทยให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ไม่ขึ้นต้นประโยคด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษ หลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นกิริยา การเขียนค่าสถิติร้อยละ ให้ใช้ทศนิยม 1 ตำแหน่ง ค่า p-value ให้ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง เช่น p<.01, p=.04, p=0.10
การส่งต้นฉบับ
ส่งใบนำส่งที่มีลายชื่อผู้นิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) พร้อมต้นฉบับจำนวน 3 ชุด ที่กองบรรณาธิการ หรือส่งทาง e-mail: journal.raja2014@gmail.com ในกรณีที่มีผู้นิพนธ์ร่วมให้ส่งใบนำส่งมาทางไปรษณีย์ หรือโทรสาร 02-2482944 หรือทาง e-mail
การเขียนเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงในเนื้อหาใช้เครื่องหมายเชิงอรรถเป็นหมายเลข ตัวเลขยก ไม่มีวงเล็บ ถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำให้ใช้หมายเลขเดิม การอ้างอิงท้ายบทความให้ใส่หมายเลขเรียงตามลำดับที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง การย่อชื่อวารสารให้ใช้ตาม Index Medicus สามารถค้นได้จาก http://www.nlm.nih.gov
ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง
- เอกสารอ้างอิงที่เป็นวารสาร
1.1 กรณีที่มีผู้นิพนธ์ร่วมมากกว่า 6 คน ให้ใช้ชื่อ 6 คนแรก แล้วตามด้วย et al. หรือ และคณะ
Meydani SN, Leka LS, Fine BC, Dallal GE, Keusch GT, Singh MF et al. Vitamin E and respiratory tract infections in elderly nursing residents: a randomized controlled trial. JAMA 2004;292:828-36. (ไม่เว้นวรรคหลังเครื่องหมายวรรคตอนระหว่างปี ปีที่ และหน้า)
1.2 กรณีที่ไม่มีชื่อผู้นิพนธ์
Cancer in South Korea [editorial]. S Afz Med J 1994;84:15.
1.3 กรณีที่เป็นฉบับเสริม (Supplement)
1.3.1 ฉบับเสริมของปี
Strauss SE. History of choronic fatique syndrome. Rev Inf Dis 1991;11 suppl1:52-7.
1.3.2 ฉบับเสริมของเล่ม
Glauser TA. Integrating clinical trial data into clinical practice. Neurology. 2002;58(12 Suppl 7):S6-12.
1.4 กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นคอลัมน์เฉพาะอาจ แสดงชนิดของเอกสารได้ตามความจำเป็นภายในเครื่องหมาย [ ]
อัมพร เบญจพลพิทักษ์. สุขภาพจิตครอบครัว... สุขภาพจิตสังคม [บทบรรณาธิการ]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2545;10:137-42.
- เอกสารอ้างอิงที่เป็นหนังสือ
2.1 หนังสือมาตรฐานทั่วไป
สงัน สุวรรณเลิศ. ผีปอบผีเข้าในทรรศนะทางจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์;2529.
Eise HN. Immunology: an introduction to molecular and cellular principles of the immune response. 5th ed. New York: Harper and Row;1974.
2.2 หนังสือที่ผู้เขียนเป็นบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม
ธนู ชาติธนานนท์, บรรณาธิการ. คู่มือประกอบการใช้ ICD-10. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง;2536.
2.3 หนังสือที่มีผู้นิพนธ์เป็นหน่วยงานและเป็นผู้ตีพิมพ์
กรมสุขภาพจิต. คู่มือ ICD-10. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต;2538.
2.4 เอกสารอ้างอิงเป็นบทหนึ่งในหนังสือ
มาโนช หล่อตระกูล. อาการของความผิดปกติทางจิตเวช. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรช์;2548. หน้า 55-62.
Strang J, Gradley B, Stockwell T. Assessment of drug and alcohol use. In: Thompson C, editor. The instrument of psychiatric researdh. London: John Willey & son;1989.p.211-32.
2.5 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ
ทรงเกียรติ ปิยะกะ. บทบรรณธิการ. ยิ้มสู้ ภัย..ยาเสพติด. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติประจำปี 2545 เรื่อง สุขภาพจิตกับยาเสพติด;21-23 สิงหาคม 2545;ณ โรงแรมปรินซ์พาเลช.กรุงเทพมหานคร:กรมสุขภาพจิต;2545.
Pratchayakup P. The support of the family for caring schizophrenic patients at home. Proceeding of the 5th international conference on mental health;2005 July 6-8;Bangkok Thailand.
Harnden P, Joffe JK, Jones WG, editors. Germ cell tumours V. Proceedings of the 5th Germ Cell Tumour Conference; 2001 Sep 13-15; Leeds, UK. New York:Springer;2002.
หมายเหตุ: หากหนังสือเล่มนั้นเป็นสิ่งพิมพ์รัฐบาล ให้ลงชื่อหน่วยราชการที่รับผิดชอบการจัดทำหนังสือนั้น เป็นผู้พิมพ์แม้จะมีชื่อสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์ ก็ตาม เช่น กรมสุขภาพจิต
- เอกสารอ้างอิงที่เป็นรายงานทางวิชากาI
3.1 รายงานวิจัย
อรวรรณ ศิลปะกิจ. รายงานการวิจัยเรื่องเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคลมชัก.นนทบุรี: โรงพยาบาลศรีธัญญา;2541.
กรมสุขภาพจิต. การพัฒนาแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทยโดยคอมพิเตอร์.นนทบุรี:กรมสุขภาพจิต;2542.
3.2 เอกสารอ้างอิงที่เป็นวิทยานิพนธ์
พนิษฐา พานิชาชีวะกุล. การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพที่เป็นสหมิติสำหรับผู้สุงอายุในชนบท [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล;2537.
Silpakit C. A study of common mental disorders in primary care in Thailand [Ph.D. thesis]. London: University of London;1998.
- การอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4.1 วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
4.1.1 บทความที่มี Digital Object Identifier (DOI)
Stultz J. Integrating exposure therapy and analytic therapy in trauma treatment. Am J Orthopsychiatry 2006;76:482-88. Doi: 10.1037/0002-9432.76.4.482. (อาจจะละหน้าได้)
4.1.2 บทความไม่มี DOI
Sillick T.J., Schutte N.S. Emotional intelligence and self-esteem mediate between perceived early parental love and adult happiness. E-Journal of Applied Psychology 2006;2:38-48. Retrieved from http://ojs.lib.swin.edu.au/index.php/ejap/article/view/71/100. [12 April 2007]
4.1.3 Preprint version of article
Philippsen C. Hahm M, Schwabe L, Richter S, Drewe J, Schachinger H. Cardiovascular reactivity to mental stress is not affected by alpha2-adrenoreceptor activation or inhibition. Phychopharnacology 2007;190:181-88. Advance online publication. Retrieved 22 January 2007. doi: 10.1007/s00213-006-0597-7.
4.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4.2.1 หนังสือ
O’Keefe E. Egoism & the crisis in Western values Available from http://www.onlineoriginals.com/showitem. asp?itemID=135.
4.2.2 บทในหนังสือ
Mitchell H. W. Alcoholism and the alcoholic psychoses. In W. A. White & S. E. Jelliffe (Eds.) The modern Treatment of nervous and mental diseases 1913; 1:287-330. Retrieved from Phys BOOKS database.
(available หมายถึง ไม่สามารถเข้าถึงเอกสารได้โดยตรงต่างจาก retrive, ไม่ต้องระบุวันที่เข้าถึงข้อมูลถ้าเป็นฉบับจริง)
4.3 รูปแบบอื่นๆ
กรมสุขภาพจิต. อีคิวกับการเลี้ยงลูกให้ฉลาด. เข้าถึงได้ที่ http://www.dmh.go.th/ news/ view.asp?id=1062. [23 ตุลาคม 2551]
Cassels C. Lie D. Folate deficiency may triple risk in the elderly. Retrieved from http://www.medscape.com/viewarticle/569976. [23 October 2008]
5. การอ้างอิงในรูปแบบอื่น
- บทความหนังสือพิมพ์
Lee G. Hospitalizations tied to ozone pollution: study estimates 50,000 admissions annually. The Washington Post 1996 Jun 21; Sect. A: 3 (col. 5).
- เอกสารอ้างอิงเป็นพจนานุกรมต่างๆ
Stedman’s medical dictionary. 26th ed. Baltimore: William & Wilkins 1995; Apraxia: p.119-20.
- เอกสารอ้างอิงสื่อโสตทัศน์
พจน์ สารสิน, ผู้พูด. ความอยู่รอดของเศรษฐกิจไทย [บทวิทยุ]. กรุงเทพมหานคร: สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย; 13 เมษายน 2520.
- เอกสารอ้างอิงที่เป็นสื่อรวมทางการศึกษา
Get the facts (and get them organized) [videocassette]. Williamstown, Vic.: Appleseed Produced; 1990.
- การอ้างอิงเอกสาร/หนังสือที่รอการตีพิมพ์
ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานต์. SDQ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย (กำลังพิมพ์).
Tian D. Araki H. Stahl E, Bergelson J, Kreitman M. Signature of balanceing selection in Arabidopsis. Proc Matl Acad Sci USA. In press 2002.
- กรณีบทความที่ไม่ปรากฏแหล่งพิมพ์ หรือการเข้าถึงได้จากสาธารณะ เช่น การติดต่อส่วนตัว ให้ระบุ : ชื่อผู้เขียน. ชื่อบทความ. วันที่ติดต่อ.