คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

วารสารราชานุกูลจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว บทความที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น บทความทุกประเภทที่ส่งมาให้พิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการตรวจทานต้นฉบับจากคณะบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วเป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันราชานุกูลและผู้นิพนธ์

ประเภทของบทความ

  1. บทบรรณาธิการ (Editorial)

            เป็นบทความซึ่งวิเคราะห์ผลงานทางสุขภาพจิตและครอบครัว หรืออาจเป็นข้อคิดเห็นเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ มีองค์ประกอบ ดังนี้ บทนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Text) สรุป (Summary) และเอกสารอ้างอิง (References)

  1. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)

            เป็นบทความรายงานการวิจัย มีองค์ประกอบ ดังนี้ ชื่อเรื่อง (Title) บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและอังกฤษ ไม่ควรเกิน 300 คำ ตามด้วย คำสำคัญ (Key words) จำนวน 2 – 5 คำ บทนำ (Introduction) วัสดุและวิธีการ (Materials and methods) ผล (Results) วิจารณ์ (Discussion) สรุป (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) และเอกสารอ้างอิง (References)
การเตรียม ตาราง และรูปภาพ ตาราง ประกอบด้วยชื่อตาราง สดมภ์ มีหน่วยนับ มีเส้นตารางเฉพาะแนวนอน จำนวน 3 – 5 ตาราง สำหรับรูปภาพดิจิทอลให้ใช้รูปแบบ JPEC

  1. บทความฟื้นฟูวิชาการ (Review article)

            เป็นการรวบรวมวิเคราะห์สังเคราะห์ผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเรื่องนั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน มีองค์ประกอบ ดังนี้ บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Key words) บทนำ (Introduction) สรุป (Conclusion) เอกสารอ้างอิง (References)

  1. รายงานเบื้องต้น (Preliminary report)

            เป็นการนำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัยที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ต้องศึกษาต่อเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติม มีส่วนประกอบที่สำคัญเช่นเดียวกับนิพนธ์ต้นฉบับ

  1. รายงานผู้ป่วย  (Case report)

            เป็นรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยที่น่าสนใจ มีองค์ประกอบ ดังนี้ บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Key words) บทนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Text) สรุป (Conclusion) เอกสารอ้างอิง (References)

  1. ปกิณกะ (Miscellany)

            เป็นบทความทั่วไปที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว

การเตรียมต้นฉบับ

  1. ให้พิมพ์ใบนำส่งแยกออกจากเนื้อหา ให้ระบุชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ ตัวย่อวุฒิการศึกษาสูงสุด หน่วยงาน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ พร้อมที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ เรียงลำดับผู้นิพนธ์ และหน่วยงานด้วยหมายเลข (เริ่มใช้วารสารปีที่ 29 ฉบับที่ 1) ในส่วนของเนื้อหาให้พิมพ์บทคัดย่อ แยกตารางออกจากเนื้อหา ไม่ต้องระบุชื่อผู้นิพนธ์ และหน่วยงาน เพื่อให้กองบรรณาธิการ ทบทวนบทความโดยไม่ทราบผู้เขียน (blindly review) ส่วนชื่อเรื่องพิมพ์ไว้กึ่งกลางของเนื้อหาหน้าแรก

  2. ต้นฉบับ ให้ใช้กระดาษสีขาวขนาด 8 ½ นิ้ว x 11 นิ้ว หรือ ISO A4 พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์โปรแกรม Word Processor for Window ตัวอักษร Angsana UPC ขนาด 16 และให้พิมพ์ข้อความ 1 สดมภ์ (1 Column) ต่อ 1 หน้ากระดาษ A4 ให้พิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้านไม่น้อยกว่า 2.5 ซม. (1 นิ้ว) และต้นฉบับแต่ละเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้า กระดาษ A4 (ไม่นับใบนำส่ง)

  3. ภาษา ให้ใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และ/หรือภาษาอังกฤษ ถ้าต้นฉบับเป็นภาษาไทยควรใช้ศัพท์ภาษาไทยให้มากที่สุด โดยใช้พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถานเป็นบรรทัดฐาน สำหรับคำศัพท์แพทย์ภาษาอังกฤษที่ไม่มีคำแปลในพจนานุกรมฯ อนุโลมให้ใช้ภาษาอังกฤษได้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ปนในเรื่องภาษาไทยให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ไม่ขึ้นต้นประโยคด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษ หลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นกิริยา การเขียนค่าสถิติร้อยละ ให้ใช้ทศนิยม 1 ตำแหน่ง ค่า p-value ให้ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง เช่น p<.01, p=.04, p=0.10

การส่งต้นฉบับ

            ส่งใบนำส่งที่มีลายชื่อผู้นิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) พร้อมต้นฉบับจำนวน 3 ชุด ที่กองบรรณาธิการ หรือส่งทาง e-mail: journal.raja2014@gmail.com ในกรณีที่มีผู้นิพนธ์ร่วมให้ส่งใบนำส่งมาทางไปรษณีย์ หรือโทรสาร 02-2482944 หรือทาง e-mail

การเขียนเอกสารอ้างอิง

            การอ้างอิงในเนื้อหาใช้เครื่องหมายเชิงอรรถเป็นหมายเลข ตัวเลขยก ไม่มีวงเล็บ ถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำให้ใช้หมายเลขเดิม การอ้างอิงท้ายบทความให้ใส่หมายเลขเรียงตามลำดับที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง การย่อชื่อวารสารให้ใช้ตาม Index Medicus สามารถค้นได้จาก http://www.nlm.nih.gov

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

  1. เอกสารอ้างอิงที่เป็นวารสาร

1.1 กรณีที่มีผู้นิพนธ์ร่วมมากกว่า 6 คน ให้ใช้ชื่อ 6 คนแรก  แล้วตามด้วย et al. หรือ และคณะ

Meydani SN, Leka LS, Fine BC, Dallal GE, Keusch GT, Singh MF et al. Vitamin E and respiratory tract infections in elderly nursing residents: a randomized controlled trial. JAMA 2004;292:828-36. (ไม่เว้นวรรคหลังเครื่องหมายวรรคตอนระหว่างปี ปีที่ และหน้า)

1.2 กรณีที่ไม่มีชื่อผู้นิพนธ์

            Cancer in South Korea [editorial]. S Afz Med J 1994;84:15.

1.3 กรณีที่เป็นฉบับเสริม (Supplement)

1.3.1 ฉบับเสริมของปี

                        Strauss SE. History of choronic fatique syndrome. Rev Inf Dis 1991;11 suppl1:52-7.

1.3.2 ฉบับเสริมของเล่ม

Glauser TA. Integrating clinical trial data into clinical practice. Neurology. 2002;58(12 Suppl 7):S6-12.

1.4 กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นคอลัมน์เฉพาะอาจ แสดงชนิดของเอกสารได้ตามความจำเป็นภายในเครื่องหมาย [   ]

อัมพร  เบญจพลพิทักษ์. สุขภาพจิตครอบครัว... สุขภาพจิตสังคม [บทบรรณาธิการ]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2545;10:137-42.

  1. เอกสารอ้างอิงที่เป็นหนังสือ

2.1 ​หนังสือมาตรฐานทั่วไป

สงัน สุวรรณเลิศ. ผีปอบผีเข้าในทรรศนะทางจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์;2529.

Eise HN. Immunology: an introduction to molecular and cellular principles of the immune response. 5th ed. New York: Harper and Row;1974.

2.2 หนังสือที่ผู้เขียนเป็นบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม

ธนู ชาติธนานนท์, บรรณาธิการ. คู่มือประกอบการใช้ ICD-10. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง;2536.

2.3 หนังสือที่มีผู้นิพนธ์เป็นหน่วยงานและเป็นผู้ตีพิมพ์

กรมสุขภาพจิต. คู่มือ ICD-10. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต;2538.

2.4 เอกสารอ้างอิงเป็นบทหนึ่งในหนังสือ

มาโนช หล่อตระกูล. อาการของความผิดปกติทางจิตเวช. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรช์;2548. หน้า 55-62.

Strang J, Gradley B, Stockwell T. Assessment of drug and alcohol use. In: Thompson C, editor. The instrument of psychiatric researdh. London: John Willey & son;1989.p.211-32.

2.5 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ

ทรงเกียรติ ปิยะกะ. บทบรรณธิการ. ยิ้มสู้ ภัย..ยาเสพติด. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติประจำปี 2545 เรื่อง สุขภาพจิตกับยาเสพติด;21-23 สิงหาคม 2545;ณ โรงแรมปรินซ์พาเลช.กรุงเทพมหานคร:กรมสุขภาพจิต;2545.

Pratchayakup P. The support of the family for caring schizophrenic patients at home. Proceeding of the 5th international conference on mental health;2005 July 6-8;Bangkok Thailand.

Harnden P, Joffe JK, Jones WG, editors. Germ cell tumours V. Proceedings of the 5th Germ Cell Tumour Conference; 2001 Sep 13-15; Leeds, UK. New York:Springer;2002.

หมายเหตุ: หากหนังสือเล่มนั้นเป็นสิ่งพิมพ์รัฐบาล ให้ลงชื่อหน่วยราชการที่รับผิดชอบการจัดทำหนังสือนั้น เป็นผู้พิมพ์แม้จะมีชื่อสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์ ก็ตาม เช่น กรมสุขภาพจิต

  1. เอกสารอ้างอิงที่เป็นรายงานทางวิชากาI

​3.1 รายงานวิจัย

อรวรรณ ศิลปะกิจ. รายงานการวิจัยเรื่องเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคลมชัก.นนทบุรี: โรงพยาบาลศรีธัญญา;2541.

กรมสุขภาพจิต. การพัฒนาแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทยโดยคอมพิเตอร์.นนทบุรี:กรมสุขภาพจิต;2542.

3.2 เอกสารอ้างอิงที่เป็นวิทยานิพนธ์

พนิษฐา พานิชาชีวะกุล. การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพที่เป็นสหมิติสำหรับผู้สุงอายุในชนบท [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล;2537.

Silpakit C. A study of common mental disorders in primary care in Thailand [Ph.D. thesis]. London: University of London;1998.

  1. การอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

4.1 วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

4.1.1 บทความที่มี Digital Object Identifier (DOI)

Stultz J. Integrating exposure therapy and analytic therapy in trauma treatment. Am J Orthopsychiatry 2006;76:482-88. Doi: 10.1037/0002-9432.76.4.482. (อาจจะละหน้าได้)

4.1.2 บทความไม่มี DOI

Sillick T.J., Schutte N.S. Emotional intelligence and self-esteem mediate between perceived early parental love and adult happiness. E-Journal of Applied Psychology 2006;2:38-48. Retrieved from http://ojs.lib.swin.edu.au/index.php/ejap/article/view/71/100. [12 April 2007]

4.1.3 Preprint version of article

Philippsen C. Hahm M, Schwabe L, Richter S, Drewe J, Schachinger H. Cardiovascular reactivity to mental stress is not affected by alpha2-adrenoreceptor activation or inhibition. Phychopharnacology 2007;190:181-88. Advance online publication. Retrieved 22 January 2007. doi: 10.1007/s00213-006-0597-7.

4.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

4.2.1 หนังสือ

O’Keefe E. Egoism & the crisis in Western values Available from http://www.onlineoriginals.com/showitem. asp?itemID=135.

4.2.2 บทในหนังสือ

Mitchell H. W. Alcoholism and the alcoholic psychoses. In W. A. White & S. E. Jelliffe (Eds.) The modern Treatment of nervous and mental diseases 1913; 1:287-330. Retrieved from Phys BOOKS database.

(available หมายถึง ไม่สามารถเข้าถึงเอกสารได้โดยตรงต่างจาก retrive, ไม่ต้องระบุวันที่เข้าถึงข้อมูลถ้าเป็นฉบับจริง)

4.3 รูปแบบอื่นๆ

กรมสุขภาพจิต. อีคิวกับการเลี้ยงลูกให้ฉลาด. เข้าถึงได้ที่ http://www.dmh.go.th/ news/ view.asp?id=1062. [23 ตุลาคม 2551]

Cassels C. Lie D. Folate deficiency may triple risk in the elderly. Retrieved from http://www.medscape.com/viewarticle/569976. [23 October 2008]

5. การอ้างอิงในรูปแบบอื่น

  • บทความหนังสือพิมพ์

Lee G. Hospitalizations tied to ozone pollution: study estimates 50,000 admissions annually. The Washington Post 1996 Jun 21; Sect. A: 3 (col. 5).

  • เอกสารอ้างอิงเป็นพจนานุกรมต่างๆ

Stedman’s medical dictionary. 26th ed. Baltimore: William & Wilkins 1995; Apraxia: p.119-20.

  • เอกสารอ้างอิงสื่อโสตทัศน์

พจน์ สารสิน, ผู้พูด. ความอยู่รอดของเศรษฐกิจไทย [บทวิทยุ]. กรุงเทพมหานคร: สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย; 13 เมษายน 2520.

  • เอกสารอ้างอิงที่เป็นสื่อรวมทางการศึกษา

Get the facts (and get them organized) [videocassette]. Williamstown, Vic.:  Appleseed Produced; 1990.

  • การอ้างอิงเอกสาร/หนังสือที่รอการตีพิมพ์

ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานต์. SDQ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย (กำลังพิมพ์).

Tian D. Araki H. Stahl E, Bergelson J, Kreitman M. Signature of balanceing selection in Arabidopsis. Proc Matl Acad Sci USA. In press 2002.

  • กรณีบทความที่ไม่ปรากฏแหล่งพิมพ์ หรือการเข้าถึงได้จากสาธารณะ เช่น การติดต่อส่วนตัว ให้ระบุ : ชื่อผู้เขียน. ชื่อบทความ. วันที่ติดต่อ.

 

ค้นหาวารสาร